ผมเองเป็นสายกินสายเที่ยวเวลาไปเที่ยวก็มักจะต้องซื้อของฝากกลับมา แน่นอนครับตัวเลืองของของฝากต้องเป็นของแห้งเท่านั้น เพราะถ้าเป็นของสด ของเย็น จะขับรถกลับมาที่ กทม. ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงรับรองว่า กล่องโฟม ได้น้ำนองเต็มกล่องแน่ ๆ ทางออกก็คือไม่ซื้อครับ 55 แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณมีปัญหานี้ ( ทำเสียงแบบจอซ์จ ตอนอ่านด้วย ) ต้องมีสิ่งนี้ครับ
” Dometic CF16 ตู้แช่แข็งแบบพกพา “
นี่ไม่ใช่ตู้แช่เย็น ตู้เก็บความเย็น แต่ ตู้เย็น dometic คือตู้แช่แข็งแบบพกพา แบรนด์คุณภาพจากประเทศสวีเดน มีความจุมากถึง 15 ลิตร สามารถแช่ได้ทั้ง อาหารสด อาหารทะเล อาหารแช่แข็ง น้ำนมแม่ ไอศครีม น้ำแข็ง ผัก ผลไม้ เครื่องสำอางค์ นมแม่ และยารักษาโรค เครื่องสามารถทำความเย็น 10°C ถึง -18°C สามารถแช่น้ำแข็งได้สบาย ๆ โดยไม่ละลาย สามารถใช้ได้ทั้งไฟบ้านและไฟในรถยนต์ ตัวตู้เย็นมีความหนาทำให้กันความร้อนเข้ามาได้ แต่หนา ๆ แบบนี้ก็ไม่ได้หนักมากมาย ตัวเครื่องหนักราว 11.5 กิโลกรัม เทียบแล้วเท่ากับข้าวสาร 2 ถุง การเคลื่อนย้าย 2 มือไม่ได้หนักอะไร และความยาวเครื่องพอดีในการอุ้ม
วัสดุดูแข็งแรง ไม่ได้มีส่วนที่เป็นเหล็กทำให้ไม่ต้องกลัวว่าจะช็อตหรือไฟรั่ว พลาสติกที่ใช้ดูทนทานและตัว
ตู้เย็นเป็นแบบฝาเดียวขนาดใหญ่เวลาปิดแน่นหนา แต่เวลาเปิดก็เปิดได้ง่ายเพราะมีสลักให้ดันเพื่อเปิดออก
ภายในตู้จะแบ่งเป็น 2 ช่อง ได้แก่ช่องหลักที่ใส่ของได้เยอะ และช่องด้านบนขนาดเล็กสำหรับใส่พวกเครื่องดื่มกระป๋องหรือขวดขนาดเล็ก
ใต้ฐานของเครื่องมีจุดรองรับ 4 ตำแหน่งทำให้สามารถนำไปวางในที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกลัวพื้นของตู้จะเสียหาย ทั้งสามารถไปวางในสวน ไปแคมป์ หรือวางที่โรงรถ ได้สบาย ๆ
วิธีการใช้งาน
ตู้เย็น แช่แข็ง พกพา ตัวเครื่องใช้งานง่ายมาก เพียงเสียปลั๊กไฟบ้าน บ้าน 100 – 240 VACหรือ ไฟรถยนต์ โดยเสียบกับช่องจุดบุหรี่ 12/24 VDC โดยจะมีสายมาให้ไม่ต้องซื้อเพิ่ม
และช่องเสียบสายที่เครื่องสำหรับไฟบ้านและไฟรถยนต์จะแยกกันนะครับไม่ต้องกลัวสับสนว่าจะเสียบผิด
ตอนนำไปติดตั้งในรถห้ามเอียงตู้นะครับจะต้องวางขนานกับพื้นให้มากที่สุดแล้วจึงเสียบสาย
แล้วจึงไปเสียบในช่อง จุดบุหรี่ 12/24 VDC
ก่อนจะใช้งานเรามาดูหน้าจอควบคุมการทำงานกันก่อนว่าปุ่มไหนคืออะไรบ้าง
เริ่มใช้งานโดยการกดปุ่ม Power ค้างไว้ 3 วินาที ไฟสถานะ power จะติดจากนั้นรอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำงาน
สังกตที่หน้าจอ จะมีตัวเองของอุณหภูมิปรากฎขึ้น โดยจะเป็นอุณหภูมิภายตู้แช่ ณ ปัจจุบัน ตามรูปคือ 27 °C ซึ่งจากที่ลองหลายครั้งแล้วภายในกล่องจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าห้องราว 8-10 องศา °C นั้นก็แปลว่ากล่องนี้ก็มีประสิทธิภาพกันความร้อนด้วยตัวมันเองอยู่พอสมควร
สำหรับการตั้งค่าของตู้แช่ ใช้การทำงานของปุ่มเดียว โดยหากต้องการตั้งค่าให้กดปุ่มตามจำนวนครั้งของคำสั่ง โดยมี 3 คำสั่งด้วยกันดังนี้
กด Set 1ครั้ง เป็นการ ตั้งค่าระดับอุณหภูมิที่ต้องการ โดยใช้การกดปุ่ม + และ – เพื่อเพิ่มและลดอุณหภูมิ เมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้วให้ปล่อยมือ
หน้าจอจะกระพริบเพื่อจำค่า แล้วกลับมาแสดงอุณหภูมิปัจจุบันภายในตู้ ซึ่งเมื่อเครื่องทำอุณหภูมิถึงตามที่ตั้งแล้วจะหยุดการทำงานเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า
กด Set 2 ครั้ง เป็นการตั้งค่าหน่วยวัดอุณหภูมิ โดยมีให้เลือกทั้ง องศาเซลเซียส °C และ องศา ฟาเรนไฮต์ °F
กด Set 3 ครั้ง เป็นการตั้งค่าแบตเตอรี่ โดยสามารถตั้งค่าให้ตรงตามประสิทธิภาพของ แบตเตอรี่ ที่ใช้ เพื่อให้ตู่แช่ใช้พลังงานของแบตเตอรี่รถยนต์อย่างเหมาะสม โดยสามารถตั้งได้ 3 ระดับ LOW / MED / HIGH
ผลการทดสอบ
ผมได้ทำการทดสอบว่าตู้แช่สามารถทำความเย็นได้ -18 องศาภายในกี่นาที โดยเริ่มแรกอุณหภูมิของตู้แช่จะอยู่ราว 22 °C ( ปกติจะราว ๆ 27°C แต่ว่าผมเปิดเล่นไปมาก่อนหน้านี้มันเลยเป็น 22°C )
เมื่อจับเวลาให้เครื่องทำความเย็นมาที่ 0°C จะใช้เวลาประมาณ 22 นาที
และหากทำความเย็นให้ถึง -18°C จะใช้ความเย็นรวม 1ชั่วโมง 29 นาที ถ้านับเฉพาะ 0 ถึง – 18 °C จะใช้เวลาในการทำความเย็นประมาณ 1 ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่าช่วงแรกก่อนมาถึง 0°C นั้นจะใช้เวลาทำตวามเย็นเฉลี่ย 1 °C ต่อ 1 นาที แต่ถ้าทำความเย็นให้ติดลบ จะใช้เวลามากถึง 3 นาที่ต่อการลดลง 1 °C
แต่ในความเป็นจริงแล้วการใช้ตู่แช่โดยทั่วไปไม่ได้ใช้ถึง -18°C ความเย็นของตู้เย็นปกติในช่องทำความเย็น อยู่ที่ 1-4 °C นั้นก็หมายถึงจะใช้เวลา ราว 20 นาทีก่อนแช่เย็น หากต้องการขนส่งอาหารจากต้นทางจำเป็นจะต้องเปิดเครื่องให้ทำงานก่อนเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่พอเหมาะ แต่ถ้าไปรับของจากปลายทางหรือเดินทางเพื่อไปรับของระหว่างทาง อันนี้สบายครับ เพราะ 20 นาที ที่เราสามารถเปิดการทำงานตู่แช่ระหว่างเดินทางได้ แต่ถ้าจะใช้โหมดแช่แข็ง ก็ควรเปิดเครื่องเพื่อทำความเย็นล่วงหน้าก่อนเดินทาง เมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้ว ค่อยย้ายเครื่องไปที่รถอีกครั้ง
ปัจจัยที่ทำให้ตู้เย็นทำความเย็นได้ช้าคือจำนวนของที่อยู่ในนั้น ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ 15 ลิตร แต่ก็ไม่ควรใส่ของจนแน่นจนเกินไป เพราะของแต่ละชิ้นก็จะแผ่อุณหภูมิออกมาทำให้ทำความเย็นได้ช้าและสิ้นเปลืองพลังงาน การที่ออกแบบให้เก็บได้ 15 ลิตรนั้นเขาเผื่อระยะช่องว่างของการหมุนเวียนของอากาศภายในนั้นเอง
จากภาพด้านล่างนี้คือการใส่ของในตู้ที่แน่นเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำความเย็น
ผลการทดสอบ
ตู้เย็นเล็ก พอดีกับ เบาะหลังของรถของผมซึ่งผมใช้รถ eco-car หรือหากเป็นรถคันใหญ่สามารถวางตัวเครื่องไว้ขั้นกลางของผู้โดยสารด้านหลังรถได้ ข้อจำกัดการวางตำแหน่งนี้ก็คือจะเสียที่นั่งไป 1 ที่เพราะจะไม่มีที่วางเท้า
สะดวกสบายมากเวลาไปซื้อของอาหารสด อาหารแช่แข็งหรือ ไอศกรีม จากทีไกล ๆ กลับบ้านมาไอติมก็ไม่ละลาย อาหารก็ยังคงสภาพเดิมอยู่ แม้ว่า เครื่องจะไมาได้ทำอุณหภูมิต่ำสุดที่ -18°C ก็ตาม
ส่วนในกรณีที่เราแวะระหว่างทาง ในกรณีที่ไม่เปิดเดินเครื่องรถยนต์ ตู้แช่จะไม่ทำงาน แต่ก็ไม่ต้องกังวลครับ ตู้แช่เองมีความสามารรถในการเก็บความเย็นอยู่ สามารถอยู่ได้ในระดับนึงแต่ก็ไม่ใช่ว่า จะจอดรถหลาย ๆ ชั่วโมง ถ้าจะแบบนั้นยกตู้แช่ลงมาเสียบไฟบ้านดีกว่าครับ
ตู้แช่รุ่นที่ผมใช้ มีชื่อรุ่นว่า Dometic CF16 ราคา 23,000 บาท
ถ้าซื้อจากตัวแทนอย่างถูกต้องจะมีการรับประกันสินค้า 2 ปี ด้วยครับ
นอกจากนี้ยังมีรุ่นย่อยอื่น ๆ ใก้เลือกเพียบเลยครับ
สนใจติดต่อ บริษัท มอเตอร์โฮม แอนด์ คาราวาน จำกัด , หรือซื้อได้ที่ Central , The Mall , Lazada , Shopee และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
หรือผ่าน Web www.mac-thai.com
Facebook page : Motorhomes & Caravans Thailand
Line ID : @motorhometh
IG : @motorhometh